Login Form

LEK Kevlar Donmuang | สารเคลือบเงา เคลือบผิว

เกร็ดความรู้เรื่องสารเคลือบเงา เคลือบผิว

Lacquer1

1. สีเคลือบแลคเกอร์ สีเคลือบแลคเกอร์นั้นเป็นสีที่เราจะพบเห็นได้มากที่สุด หาซื้อได้ง่าย มีทั้งในแบบที่ต้องเอามาผสมกับทินเนอร์ก่อนใช้และแบบเป็นสีสเปร์ย สีเคลือบแลคเกอร์นั้นมีคุณสมบัติในการ เคลือบ และยึดเกาะชิ้นงานค่อนข้างต่ำ แห้งเร็ว ให้เนื้อสีค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยใส กระเทาะง่าย ใช้ไปนานๆ สีจะออกเหลืองๆ ส่วนมากจะใช้ในงานที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว  แต่ไม่เหมาะกับใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความเงางาม คงทน  แต่ก็มีมีแลคเกอร์อีกแบบหนึ่งที่มีคุณสมบัติค่อนข้างดี เป็นแลคเกอร์ที่ใช้ในการเคลือบสีรถยนต์ ภาษาช่างเรียกว่าหัวแลคเกอร์ ให้ความแข็งแรงและเงางาม ในระดับที่ดี แต่มีข้อเสียที่มีหายาก ราคาแพง ต้องผสมกับทินเนอร์ของมันโดยเฉพาะ และใช้งานค่อนข้างยาก

--------------------------------------------------------

Lacquer2

2.สีเคลือบยูริเทน สีเคลือบยูริเทนเป็นสีเคลือบที่นิยมนำมาเคลือบเหยื่อปลอมมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติ ที่มีความแข็ง และใส เงางาม  หาซื้อได้ง่าย สีเคลือบยูริเทนมีหลายแบบ แต่สีเคลือบยูริเทนที่มีขายทั่วไปนั้น ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องมีการเคลือบทับสีอะคิลิก สีน้ำมัน เพราะสีเคลือบยูริเทนที่มีขายทั่วไปตามร้านก่อสร้างนั้น มักจะเป็นสีที่ใช้สำหรับในการเคลือบชิ้นงานที่เป็นไม้ ที่ลงสีย้อมไม้ (ในการเคลือบจะอาศัยการดูดซึมของเนื้อไม้ในการช่วยการยึดเกาะ) ดังนั้นเมื่อเราเอามาเคลือบทับสีที่เราใช้ทั่วไปนั้น จะทำให้การยึดเกาะด้อยลง เกิดเป็นชั้นของยูริเทนต่างหาก ไม่ยึดเกาะกับเนื้อสี ทำให้เมื่อใช้ไปเป็นเวลานานๆ จะเกิดการกระเทาะ แตกร้าว และหลุดลอกออกมาจากตัวชิ้นงาน

--------------------------------------------------------
Lacquer3

3. สีเคลือบเคลียร์ 2 K สีเคลือบเคลียร์ 2 K  ที่จะกล่าวถึงนี้ คือคือสีระบบ 2 องค์ประกอบ (2 Komponent) คือประกอบด้วยส่วนของตัวสี ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 1 และตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ซึ่งคือองค์ประกอบที่ 2 โดยก่อนใช้งานต้องนำทั้ง 2 องค์ ประกอบมาผสมกันตามอัตราส่วน เพื่อให้เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งจะทำให้สีเกิดการแห้งตัว (Chemical Drying) สี 2K ที่ใช้ในงานสีรถยนต์ จะมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน คือสี 2K แบบ “อีพ็อกซี่” และสี 2K แบบ “โพลียู รีเทน” (หรือผสมกับอะครีลิค) สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้จะเป็นสารประเภท ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) ซึ่งจะ ทำให้สีเกิดการแห้งตัวภายหลังผสมตามอัตราส่วนที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด สี 2K หลังจากแห้งตัวแล้ว จะมีคุณ สมบัติในด้านความแข็งแรงของชั้นฟิล์มสีสูง มีความทนทานต่อตัวทำละลายเช่นทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน / ดีเซลได้ดีมาก และทนทานต่อสารเคมีต่างๆ เช่นน้ำมันเบรกได้ดี นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความ เงางามสูง มีเนื้อสีมาก รวมทั้งสามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี จึงไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนสูงและคงสภาพ เดิมได้นานมาก  สีเคลือบแบบ 2K จะมีหหลายแบบโดยจะแบ่งตามอัตตราส่วนของการผสมระหว่าง ตัวเนื้อสี กับตัวเร่งปฏิกิริยา  ในปัจจุบันจะเห้นที่มีขายอยู่ 2 แบบคือ แบบ 4:1 กับ 2:1 ซึ่งในแบบ 2:1 จะแห้งช้า และแข็งแรงกว่า ในแบบ 4:1 แต่มีราคาที่ค่อนข้างสูงมากๆ จึงนิยมใช้แบบ 4:1 กันมากที่สุด  

-------------------------------------------------------

 

เอาละครับเราได้ทราบถึงชนิดของสีที่เราจะนำมาใช้เคลือบแล้ว ก้แล้วแต่ความพอใจของแต่ละคนละครับ ว่าอยากใช้สีเคลือบแบบใหน แต่สำหหรับผมแล้วผมเลือกใช้สีเคลือบ2 K แบบ  4:1  ครับ ต่อไปเป็นขั้นตอนการพ่นนะครับ
1.ทำการผสมสีตามอัตราส่วนที่กำหนดมา(ต้องผสมให้แปะๆนะครับ เพราะถ้าส่วนใดส่วนหนึ่ง มาก หรือน้อยเกินไปจะทำให้ไม่แห้งสนิทครับ)
2.ทำการพ่นสีโดยเริ่มพ่นตามขอบ ตามมุม ตามซอกหลืบของชิ้นงานก่อนนะครับ  แล้วโปรยสีไปให้ทั่วชิ้นงาน พักชิ้นงานไว้ 3-5 นาที
3.ทำการพ่นรอบที่  2 เริ่มพ่นตามขอบ ตามมุม ตามซอกหลืบของชิ้นงาน แล้วลงสีให้ทั่วทั้งชิ้นงาน พยามดุว่าสีที่เคลือบเกลี่ยทั่วชิ้นงาน ให้สม่ำเสมอ กันทั้งชิ้นงาน แล้วพักชิ้นงานไว้ 24 ชั่งโมงก่อนนำไปใช้งาน


1. PVAC (Polyvinyl Acetate Copolymer) เป็น Resin ที่ใช้ในกลุ่มทำสีน้ำพลาสติก (ซึ่งจะเขียนถึงที่มาของสีผสมน้ำในช่วงท้ายของบท Resin) ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของประเทศไทยประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมาปัจจุบันยังใช้ผลิตสีในระดับราคาถูกเนื่องจากพลาสติกชนิดนี้ทนต่อด่างและ UV ได้ไม่ดี

2. ACRYLIC เมื่อปี พ.ศ.2523 บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการศึกษาพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสีในประเทศไทย ผลการศึกษาครั้งนั้น ทีโอเอ ได้ตัดสินใจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Acrylic Resin ซึ่งมีคุณสมบัติเหนือกว่า PVAC Resin ในทุกๆ ด้าน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสีโดยรวมคือ ปัจจุบันสีในตลาดระดับกลางและสูง จะใช้วัตถุดิบเป็น Acrylic ทุกบริษัท

3. EPOXY เป็น Resin อีกชนิดหนึ่งที่มีฟิล์มแข็งทนสารเคมีได้ดี มักจะใช้เป็นสีทาโครงสร้างโลหะในบริเวณที่มีสภาวะอากาศรุนแรง เช่น โครงสร้างในทะเล (Off Shore Structures) หรือโรงงานเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น บางครั้งเรานำมาใช้กับงานคอนกรีต เช่น พื้น ผนังโรงงาน หรือในบริเวณอาคารที่ต้องการปกป้องจากการใช้งานหนักและทำความสะอาดได้ เช่น ห้องผ่าตัด เป็นต้น ข้อด้อยของ Epoxy คือ โครงสร้างของ Epoxy ไม่ทนต่อ UV ซึ่งถ้าฟิล์มโดน UV สักระยะหนึ่ง (ประมาณ 5-6 เดือน) ผิวฟิล์มจะด้านเป็นฝุ่นบางๆ (Chalking) แต่ประสิทธิภาพในการปกป้องพื้นผิวจะยังคงมีอยู่

4. POLYURETHANE เป็น Resin ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ Epoxy แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ทน UV ได้ดี เรามักจะนำมาเป็นเคลือบใสสำหรับการเคลือบพื้นไม้ปาร์เกท์ เป็นต้น ถ้าเป็นสีจะใช้ทดแทนสี Epoxy เป็นสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการความเงาเป็นพิเศษ

5. FLUOROCARBON เป็น Resin ที่ทนความร้อนได้ดีและฝุ่นจะเกาะฝังตัวน้อย เครื่องใช้ในบ้านที่ใช้ Resin ตัวนี้คือภาชนะที่เคลือบสารดำๆ ที่เราเรียกว่า Teflon (เป็นชื่อทางการค้าของพลาสติกชนิดนี้) เป็น Resin ที่ใช้ทำสีเพื่อเคลือบชิ้นโลหะที่เป็นส่วนประกอบของผนังอาคารที่ทำด้วยกระจกและโลหะ (Curtain Wall) จุดอ่อนของสีประเภทนี้ คือผิวจะด้านไม่เงาและราคาแพงมาก อาจจะพิจารณาตัวทดแทนได้ คือ Polyurethane

6. มี Resin อีกตัวที่มีที่มาของวัตถุดิบจากแหล่งที่ไม่เป็นสารจากสิ่งมีชีวิตถ้าเราสังเกตในกลุ่ม Resin ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิต Resin ตั้งแต่กลุ่ม 1 จนถึงกลุ่ม 2 จะมาจากพืชและสัตว์ทั้งนั้น แม้จะมาในรูปของน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติก็ตามเพราะว่า น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ก็คือ ผลผลิตจากซากพืช ซากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ที่ทับถมรวมกันแต่ Resin ตัวนี้กลับทำจากทราย (Silica Sand) ที่นำมาผลิตกระจก นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นจนผลิตยางเหนียวจากทรายได้ ที่เราเรียกว่า Silicone Resin ซึ่งเมื่อนำมาผลิตสีแล้วจะได้สีที่ใช้ สำหรับบริเวณที่มีความร้อนสูง เช่น ท่อไอเสีย เตาเผา เป็นต้น

 

ทั้งหมดนี้คือ วัตถุดิบหลักตัวแรกที่ใช้ผลิตสีสำหรับเกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมยังมี Resin ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอีกหลายตัว แต่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงขอไม่เขียนถึง ณ ที่นี้


โดยปกติ Resin หรือ กาวที่เราเรียนรู้ในบทที่ผ่านเมื่อแห้งหรือแข็งตัวจะมีลักษณะใส
ดังนั้นถ้าหากในกระบานการผลิตเราตัดองค์ประกอบของผงสีออก
เราก็จะได้สารเคลือบใสชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของ Resin

Lacquer4

หน้าที่หลักของผงสีคือ

1. ป้องกัน UV ไม่ให้สัมผัสกับพื้นผิววัสดุ
2. ป้องกันออกซะเจนไม่ให้เข้าทำปฏิกิริยากับโลหะ
3. ป้องกันการซึมของยางไม้
4. เพื่อการปิดบังความไม่เรียบร้อยของผิววัสดุ
5. เพื่อการเตรียมพื้นผิววัสดุ
6. เพื่อให้เกิดสีสันด้านความงาม